แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
(BAN CHIANG
ARCHAEOLOGICAL SITE)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย
ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่เศษ
จัดแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 5,000-1,400 ปีมาแล้ว
และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า
5,000 ปีอีกด้วย
ความเป็นมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13
ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง
และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง อันประกอบด้วยกลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือ
เครื่องใช้และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย
ในปี
พ.ศ. 2500 ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์
ในบริเวณหมู่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เริ่มจากการที่ชาวบ้านได้สังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวดลายเขียนสีแดง
เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คนสนใจได้เข้าชม
พ.ศ. 2509
นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง
จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่บ้าน
จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี
ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร
ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่
(Neotelhic
Period)
ใน
พ.ศ. 2510 กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง
และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-14) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า
โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ 2,600 ปีมาแล้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2513
หน่วยศิปลากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง
แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก
จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.
2515 กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน
และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน
เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง
เมื่อวันที่20 มีนาคม พ.ศ. 2515
ที่ตั้ง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ตั้งอยู่บนเนินดินสูง รูปยาวรี ตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ
400 ไร่ กลางเนินสูงกว่าพื้นที่รอบ ๆ ราว 8 เมตร
ราษฎรชาวบ้านเชียงในปัจจุบันมีเชื้อสายลาวพวนที่อพยพเคลื่อนย้ายชุมชนมาจากแขวงเชียงขวางประเทศลาว
เมื่อ 200 ปีมาแล้ว
การเดินทาง
การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50
ถึงปากทางเข้าบ้านปูลูจะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ
เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
ความสำคัญ
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันบ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก
ทั้งทางด้านวิชาการและด้านโบราณวัตถุที่มีจำนวนมหาศาล ที่ได้รับการวิเคราะห์แปลความ
โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการมาเป็นอย่างดี
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ
เมื่อราว 5,000 กว่าปีมาแล้ว
มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ
ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะ ที่รู้จักทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์
นิยมทำเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก
และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมา แต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่กันไป ชาวบ้านเชียงรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะสีเทา
ทำเป็นลายขูดขีด ลายเชือกทาบและขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสี
รูปทรงและลวดลายต่างๆ มากมาย
-ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม
ลายก้นหอยบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเป็นลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านเชียง
-ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม
แหล่งโบราณคดีที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนบ้านเชียงในอดีต
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า
5,000
ปี ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว
แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน
โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา
อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมา
เป็นระยะเวลายาวนาน
วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง
ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว
ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค
ได้แก่
-ภาชนะดินเผาสมัยต้น
อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด
และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็ก
-ภาชนะดินเผาสมัยกลาง
อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี
สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดง
-ภาชนะดินเผาสมัยปลาย
อายุ 2,300
ปี-1,800 ปี
เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร
สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข
ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน
สำริด
ชาวบ้านเชียงโบราณนิยมทำเครื่องมือ
เครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะได้รู้จักใช้การใช้เหล็ก
ชาวพอลินีเซียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน เช่น ใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก
มรดกโลก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535
อันดับที่ 359 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก
เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
แบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่
1
ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า ในเขตวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย
จัดทำเป็นนิทรรศการถาวร
จัดแสดงจำลองขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน
เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ
โดยส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาที่ฝังรวมกับศพที่เป็นโครงกระดูก
ส่วนที่
2
ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า
เป็นอาคารจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียง
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในยุคนั้น
รวมถึงวัตถุโบราณและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยไปจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในส่วนนี้ยังมีห้องนิทรรศการ
ห้องบรรยายและการให้บริการด้านการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นทางโบราณคดี
ตั้งอยู่ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร เป็นสถานที่สำคัญที่ได้เก็บรักษาศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียง
เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และยังเป็นสถานที่ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรการทำงานของนักโบราณคดี ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2515 โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน
และเก็บรักษาหลักฐานทางโบราณคดีไว้ในสภาพดั้งเดิม
จัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย
หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
วัดโพธิ์ศรีใน เป็นหลุมขุดค้นที่จัดอยู่สมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง
มีอายุระหว่าง 2,300 - 1,800 ปีมาแล้ว
สมัยนี้ภาชนะดินเผาจะเขียนลายพื้นสีแดงบนลายสีนวล เขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง
และฉาบด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมัน
ส่วนด้านโลหะกรรมยุคนี้รู้จักการนำเหล็กมาใช้ได้แล้ว
ส่วนสำริดถึงแม้จะพบทำเป็นเครื่องใช้น้อยลง แต่ยังคงทำเป็นเครื่องประดับที่พัฒนาด้านความประณีต
และสวยงามมากกว่าทุกสมัย
จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเป็นแหล่งที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวเมื่อ 5,000 ปีที่แล้วได้อย่างเป็นเรื่องราว มีการค้นพบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษา ที่ทำให้เราสามารถศึกษาเรียนรู้อดีต วิธีการดำรงชีวิตของคนในอดีตว่าเป็นอย่างไร ซึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ดีในการศึกษาและเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ และเรียนรู้เกี่ยวกับอดีตได้เป็นอย่างดี
…………………………………………………………………………..
อ้างอิง
มนตรี โคตรคันทา. (2561). บ้านเชีย
ง[ระบบออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://www.isangate.com/new/ka-lam-isan/32-art-culture/knowledge/575-baan-chiang.html
พรพิมล โพธิ์แฉล้ม. (ม.ป.ป.). บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี [ระบบออนไลน์]
. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/thecultureorientedmeasures/kar-thxng-theiyw-1
ณัฐวดี ช่วยพนัง. (ม.ป.ป.). ไทย [ระบบออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/worldheritageinaseann/thiy
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัทธยาศัยภาคเหนือ. (2558). มรดกโลกในไทย 1 : แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/1_2378.html
กระปุกดอทคอม.
(2559). ตามรอยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี [ระบบออนไลน์]
. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://travel.kapook.com/view57699.html
กลุ่มปั้นหม้อดินบ้านเชียง. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาบ้านเชียง
[ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://www.baanchiang.com/15506681
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น