แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน
(SANGIRAN EARLY MAN SITE)
สวัสดีค่ะ
ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 4 แล้วที่เราได้รวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดีต่าง
ๆ ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาให้ทุกคนได้อ่านกัน
โดยในวันนี้สถานที่ที่เราจะมานำเสนอนั้นก็คือ แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน
ซึ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และยังถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย
ความเป็นมา
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรันอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
คือแหล่งขุดค้นมนุษย์ชวาถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2479 การค้นพบนี้ ทำให้แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรันมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากจากการ
เป็นแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี
ซึ่งได้มีการค้นพบซากฟอสซิลของมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก และต่อมาก็พบฟอสซิลของ Meganthropus
erectus/Homo erectus จำนวน ๕๐ ซาก โดยครึ่งหนึ่งเป็นฟอสซิลมนุษย์
เป็นที่อยู่อาศัยมาในอดีตราว ๑ ล้านปีครึ่ง โดยมีการค้นพบครั้งแรกมื่อปี พ.ศ. 2479
และได้รับการยอมรับโดยนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่สุดในโลกสำหรับการศึกษาฟอสซิลของมนุษย์
ครื่งหนึ่งของซากฟอสซิลมนุษย์โบราณจากทั่วโลกได้รับการค้นพบที่นี่
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ประมาณ 15
กิโลเมตรทางตอนเหนือของเมืองโซโล ในเขตชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย
ความสำคัญ
แหล่งโบราณคดีซังงีรัน
เป็นบริเวณชั้นหินที่มีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่กว่า 1.5
ล้านปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 56 ตารางกิโลเมตร
เป็นที่ตั้งแหล่งโบราณคดี และเป็นแหล่งขุดค้นทางมนุษยวิทยา
มีการขุดค้นพบซากฟอสซิสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 พบฟอสซิลมนุษย์โบราณ
ประกอบด้วยฟอสซิล Meganthropus palaeo และ Pithecanthropus
erectus/Homo erectus ซึ่งเป็นมนุษย์ยุคแรกเริ่มมีชีวิตอยู่เมื่อ 1.5-1.8 ล้านปีมาแล้ว จำนวนกว่า 50
ซาก และพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินของมนุษย์ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่
แสดงให้เห็นถึงที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์และพัฒนาการทางวัฒนธรรมอันยาวนาน
นับเป็นสถานที่สำคัญที่ในการศึกษาและทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น
***Homo erectus****
ระดับ : มนุษย์แรกเริ่ม (early
man)
ขนาดของสมอง : 750-1,200 ลบ.ซม.
เครื่องมือที่ใช้ :
ใช้ขวานหินไม่มีด้ามในยุคหินเก่าอยู่ในถ้ำและรู้จักใช้ไฟ
Homo erectus เป็นมนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว
มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า Homo habilis ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู
มีขนาดสมองประมาณ1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เชื่อกันว่ามนุษย์ชนิดนี้ไม่มีขนแบบลิงแล้ว
และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป
มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟและประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา
(Java ape man)และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian)ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ
มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน
และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่งเป็นพวกที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย
สรุปก็คือแหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน
เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญต่อมรดกโลกและเป็นแหล่งที่ให้ความรู้
ซึ่งการค้นพบแหล่งมนุษย์ยุคแรกเริ่มนี้ แสดงให้เห็นถึงที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์
และพัฒนาการทางวัฒนธรรมอันยาวนาน ซึ่งนี้ก็นับเป็นสถานที่สำคัญ สำหรับการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้นไปอีก
……………………………………………………….
อ้างอิง
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัทธยาศัยภาคเหนือ.
(2558).
มรดกโลกในอินโดนีเซีย 3 : แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน [ระบบออนไลน์].
สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/3_13.html
มหานครอาเซียน.
(ม.ป.ป.). แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม
2561 สืบค้นจาก http://www.uasean.com/kerobow01/255
เรวดี กลางเดือน. (ม.ป.ป.). แหล่งมรดกโลกในประเทศต่างๆ
ในภูมิภาคเอเชีย [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8
ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/pavattisat03272/hnwy-kar-reiyn-ru-thi2/2-3?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
นงนุช
สุครีพ. (ม.ป.ป.). Homo erectus [ระบบออนไลน์].
สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/wiwathnakarmnusy/2-wiwathnakar-khxng-mnusy/2-2-homo-erectus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น