หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

เมืองโบราณฮอยอัน (HOI AN ANCIENT TOWN)


เมืองโบราณฮอยอัน

(HOI AN ANCIENT TOWN)


สวัสดีค่ะ บล็อกนี้ก็เป็นบล็อกที่สามแล้วหลังจากที่เราได้ทำการเปิดบล็อกมา ในวันนี้เราจะมาพูดถึง แหล่งศิลปะ โบราณคดี เอเชียอาคเนย์ในประเทศเวียดนาม ที่เก่าที่เดิมที่เราเคยนำเสนอไปในบล็อกที่หนึ่ง แต่เราจะเปลี่ยนสถานที่ใหม่จากหมู่โบราณสถานเมืองเว้ มาเป็นเมืองโบราณฮอยอันที่มีความสวยงามไม่แพ้กัน


ความเป็นมา
ในสมัยของอาณาจักรจามปา บริเวณนี้เคยเป็นเมืองท่าบนปากแม่น้ำทูโบน ซึ่งมีชื่อว่า ไฮโฟ โดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีชาวต่างชาติมาตั้งถิ่นฐานและค้าขายในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ และอินเดีย เดิมทีเมืองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองสายหนึ่งคั่นอยู่กลางเมือง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นที่อีกฝั่งหนึ่งของคลอง ตัวสะพานสร้างโดยชาวญี่ปุ่น มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมืองโบราณฮอยอันตั้งอยู่ที่ประเทศเวียดนาม เมืองนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของเมืองท่าในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สร้างตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ ซึ่งเมืองนี้ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี การวางผังถนนและอาคารแต่ละอาคารสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพื้นเมืองและต่างประเทศเป็นอย่างดี ซึ่งได้ผสมผสานกันไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์
ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ศตวรรษที่ 19 ชื่อของฮอยอันได้รับการบันทึกลงในการเดินเรือของชาติตะวันตกในชื่อ ไฟโฟ หรือ ไฮโป และมีชาวต่างชาติเดินเรือเข้ามามากมาย จนฮอยอันกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก จนเข้าสู่ราวครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เมืองแห่งนี้ก็โดนเผาราบคาบจากการสู้รบช่วงกบฏไตเซินเหวียนอัน ภายหลังเมื่อเข้าสู่ยุคเริ่มต้นราชวงศ์เหวียน เมืองฮอยอันก็ได้รับการสร้างใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบของอาคารบ้านเรือนอายุสองร้อยกว่าปีอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
เมื่อเข้าสู่ปลายศตวรรษที่ 19 แม่น้ำทูโบนเริ่มตื้นเขิน เนื่องจากตะกอนโคลนเลนสะสมจนไม่อาจนำเรือใหญ่เข้ามาได้ เมืองดานังจึงถูกสร้างขึ้นมาเป็นเมืองท่าแห่งใหม่แทนที่ฮอยอัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองฮอยอันก็เริ่มลางเลือนไปตามกาลเวลา จนถึงปี พ.ศ. 2459 เส้นทางรถไฟระหว่างฮอยอันและดานังได้รับความเสียหายจากพายุและไม่ได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม เมืองแห่งการค้าที่สำคัญซึ่งเคยต้อนรับชาวต่างชาติจึงยุบลง
ปี พ.ศ. 2542 องค์กานยูเนสโกก็ได้ประกาศให้ฮอยอันเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพราะความงดงามและเก่าแก่ของบ้านเมือง รวมทั้งเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามายังเมืองแห่งนี้ ประดุจน้ำในแม่น้ำทูโบนที่ไหลหล่อเลี้ยงผู้คนไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ที่ตั้ง

เมืองฮอยอัน อยู่ห่างจากเมืองท่าดานังทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทูโบน ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้ามาตอนในระยะทางไม่กี่กิโลเมตร เมืองเก่าโบราณที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งนี้ ครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในบริเวณที่เคยเป็นไดเวียดกลางภายใต้การปกครองของขุนนางเหวียน และปรากฏอยู่ในแวดวงของนักเดินทางตะวันตกในศตวรรษที่ 17 และ 18 แรกเริ่มเมืองฮอยอันเคยเป็นเมืองท่าชายทะเลในอาณาจักรจามปา เรียกกันในชื่อว่า ได๋เจียน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ตราเกียว และมีศานสถานอันศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่หมี่เซิน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากฮอยอันมากนัก
ฮอยอัน เป็นเมืองที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองคั่นกลาง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นที่อีกฝั่งหนึ่งของคลองจากชุมชนจีน สะพานดังกล่าวสร้างโดยชาวญี่ปุ่น มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีหลังคาเหนือสะพาน นอกจากนี้ ยังมีวัดญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้านขวามือของตัวสะพาน ทำให้สะพานดังกล่าว มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าสะพานวัด หรือ Pagoda Bridge


สะพานวัดหรือสะพานญี่ปุ่น

ความสำคัญ
เมืองโบราณฮอยอันเป็นเมืองขนาดเล็ก ที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว มีชื่อเสียงในด้านของเมืองมรดกโลกที่ยังมีลมหายใจ เสน่ห์ของเมืองนี้คือตึกเก่าสีเหลืองสวยสไตล์โคโลเนียล ที่อนุรักษ์เอาไว้ให้คงเอกลักษณ์เอาไว้  วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและสวยงามของชาวเมืองฮอยอัน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีพร้อมสรรพสำหรับนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้เมืองโบราณฮอยอันยังเป็นเมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่มีอิทธิพลช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
เมืองโบราณฮอยอัน มีความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

สถานที่สำคัญ
1.     สะพานญี่ปุ่น (Japanese Covered Bridge)

สะพานญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองฮอยอันได้รับการก่อสร้างโดยชุมชนชาวญี่ปุ่นเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว รูปทรงโค้งของสะพานและหลังคามุงกระเบื้องสีเขียวและเหลืองเป็นคลื่น ตรงกลางสะพานมีเจดีย์ทรงจัตุรัสที่สร้างอุทิศให้แก่ดั๊กเดและตรันหวู ก่อนเดินข้ามสะพานด้านซ้ายมือจะมีรูปปั้นสุนัขกำลังนั่ง และเมื่อข้ามไปแล้วก็จะเจอกับลิงอีกตัว นับเป็นสิ่งที่ช่างสมัยก่อนแสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการก่อสร้าง สะพานแห่งนี้ เมื่อข้ามสะพานมายังอีกฟากหนึ่งของเมือง คุณจะพบเห็นบ้านเรือนเก่าสไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ ตลอดจนร้านสไตล์อาร์ตแกลอรี่ ริมถนนคนเดินสองฟากฝั่งถนนให้คุณได้เลือกซื้อเลือกชม

2.     สมาคมฟุกเกี๋ยน (Phouc Kien Assembly Hall)

ถนนสายตรันฝู นอกจากจะเป็นศูนย์กลางของการเที่ยวชมเมืองโบราณฮอยอันแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมของชาวจีนที่อพยพเข้ามาในช่วงปี พ.ศ.2388-2428 จะเห็นได้จากบ้านเก่าแก่ประจำตระกูลกว่า 20 หลัง ตลอดจนจั่วฟุกเกี๋ยนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2335 ซึ่งถือเป็นสามคมชาวจีนที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของเมืองฮอยอัน ใช้สำหรับเป็นที่พบปะของคนหลายรุ่นที่อพยพมาจากฟุกเกี๋ยนที่มีแซ่เดียวกัน และยังใช้เป็นที่ระลึกถึงถิ่นกำเนิดและบูชาบรรพบุรุษของตน และภายในยังเป็นที่ตั้งของวัดที่สร้างขึ้น เพื่ออุทิศให้กับลัทธิของพระนางเทียนเห่า มีจุดเด่นอยู่ที่งานไม้แกะสลัก ลวดลายสวยงามน่าชมและหากคุณไม่เร่งรีบไปไหน สองฟากฝั่งของถนนตรันฝูยังเต็มไปด้วยร้านขายสินค้าทำมือให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก ทั้งงานแกะสลักไม้ โคมไฟจากผ้าไหมหลากสี ภาพวาดที่สะท้อนวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวฮอยอัน ตลอดจนร้านอาหารหลากสัญชาติ หลายบรรยากาศ

3.     บ้านเลขที่ 101 (Old House No.101)

เป็นบ้านประจำตระกูลเก่าแก่ที่ยังคงงดงาม มีให้เลือกชมอยู่หลายหลัง บนถนนสายนี้มีบ้านประจำตระกูลเก่าแก่ให้เลือกเข้าชมทั้งหมด 3 หลังด้วยกัน เริ่มจาก บ้านเลขที่ 22 บ้านเก่า 2 ชั้น ของชาวจีนที่เข้ามาติดต่อเพื่อซื้อขายอบเชย สร้างมาเกือบ 90 ปีแล้ว ภายในแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ บ้านไม้และบ้านปูนเก่าสร้างอย่างประณีต เป็นครอบครัวใหญ่ที่เปิดให้เข้าเยี่ยมชมได้ และที่คุณพลาดไม่ได้คือ บ้านเลขที่ 101 เป็นบ้านของจีนในตระกูล Tan Ky นับเป็นบ้านไม้ที่เก่าแก่และสวยงามที่สุดของเมืองฮอยอัน สร้างขึ้นมาเมื่อ 75 ปีที่แล้ว และอยู่กันมา 5 ชั่วอายุคน ภายในแบ่งเป็นสัดส่วนอย่างลงตัว ตั้งแต่ ห้องสมุดสมัยก่อน ห้องรับแขก และห้องครัว และบ้านเลขที่ 77

4.     หุบเขาหมี่เซิน มรดกโลก

ที่ตั้ง : อยู่ห่างจากเมืองดานังไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองฮอยอันมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร
การเดินทาง : ท่านสามารถหาซื้อแพกเกจทัวร์ได้จากบริษัทเมืองดานังหรือฮอยอันจะสะดวกกว่าเดินทางไปด้วยตัวเอง ราคาไป-กลับ ประมาณ 4 US$ แต่ถ้าเลือกนั่งเรือกลับก็ต้องเพิ่มเงินอีกนิดหน่อย
นักโบราณคดีเชื่อว่า วัฒนธรรมของจาม  มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมซาหินห์ของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในแผ่นดินอันนัมและผสานเข้ากับวัฒนธรรมอินเดียที่ขึ้นฝั่งมาทำการค้าเมื่อครั้งอดีต
วัฒนธรรมจาม มีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึงพันกว่าปี มีศูนย์กลางอยู่ที่หุบเขาหมี่เซิน โดยเริ่มต้นจากพระเจ้าภัทรวรมันที่ 1 ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาณาจักรจามรุ่งเรืองครอบครองอาณาเขตตั้งแต่ทางตอนใต้ของฮานอยไปจนถึงเวียดนามใต้และภาคตะวันออกของกัมพูชา ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดอาณาจักรจามปา มีกษัตริย์ปกครอง 78 พระองค์ ใน 14 ราชวงศ์ ก่อนเข้าสวามิภักดิ์กับอาณาจักรไดเวียดเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 และถือเป็นอันสิ้นสุดลงของอาณาจักรแห่งความยิ่งใหญ่
ร่องรอยแห่งอารยธรรมของอาณาจักรจามปา มีอยู่ทั่วไปในอุษาคเนย์ ซึ่งได้สร้างปราสาทเพื่อถวายพระศิวะมากมาย เนื่องจากชนชาติดังกล่าวนับถือศาสนาฮินดูอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะภายในบริเวณหมี่เซินมีศาสนสถานที่สร้างด้วยอิฐกว่า 70 แห่ง แต่ที่โดดเด่นสุด คือ ปราสาททับจั่ว แต่ภายหลังที่เกิดสงครามเวียดนาม โบราณสถานจำนวนมากถูกทำลายลงจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน B52 ของอเมริกา แต่อย่างไรก็ดี โบราณสถานที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็ยังงดงามควรค่าแก่การเยี่ยมชม เพราะนับเป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในแหลมอินโดจีน ที่สามารถสะท้อนความรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมของจามได้ดีที่สุด จนได้รับเลือกจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2542

5.     หาดเกาได๋ หรือ หาดจีน (Cao Dai Beach)
นอกจากบ้านเรือนสวยสไตล์โคโลเนียลที่มีให้เยี่ยมชมย่านเก่าใจกลางเมืองฮอยอันแล้ว ถัดมาไม่ไกลจากตัวเมืองฝั่งตรงขามกับแม่น้ำทูโบน คุณจะได้พบกับชายหาดสวยชื่อ เกาได๋ ที่ทอดยาวต่อเนื่องมาจากเมืองดานัง หรือที่ชาวฮอยอันเรียกว่า หาดจีน เป็นชายหาดที่มีเนื้อทรายละเอียด น้ำทะเลใสสะอาด บรรยากาศเงียบสงบ มีกิจกรรมทางน้ำมากมายให้เลือกสรร เหมาะทั้งลงเล่นน้ำและชมวิวทิวทัศน์ บริเวณฝั่งตรงข้ามชายหาดเต็มไปด้วยโรงแรมระดับดีให้คุณได้เลือกพักชมวิวทะเล ตลอดจนร้านอาหารให้เลือกลิ้มรส นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หลังจากเที่ยวชมเมืองเก่าฮอยอันจนครบแล้ว ก็มักเปลี่ยนบรรยากาศมาพักผ่อนหย่อนใจที่หาดทรายสวยแห่งนี้

6.     ศูนย์วัฒนธรรมและหัตถกรรม
(Handicraft workshop and traditional music shop)
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในศูนย์วัฒนธรรมและหัตถกรรมแห่งนี้คือ โรงละครหลังเล็ก ที่จัดการแสดงพื้นเมืองที่หาดูได้ยากของชาวเวียดนาม ตั้งแต่การจับปลา การเกี่ยวข้าว ท่ามกลางศิลปินนักร้อง นักดนตรี ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนาม รอบจัดแสดงคือ วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00 น. หรือ เวลา 15.00 น. มีการแสดง 2 รอบต่อ 1 วันเท่านั้น
นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมงานฝีมือของเมืองฮอยอัน ตั้งแต่งานแกะสลักไม้ งานแกะสลักหินอ่อน ที่ยินดีให้คุณได้ชมในทุกขั้นตอนของการผลิต และสมารถเลือกซื้อกลับไปเป็นชองที่ระลึกได้ในราคาย่อมเยา

7.     พิพิธภัณฑ์เซรามิก
(Museu of Trading Ceramics)
ที่ตั้ง อยู่บนถนนสายตรันฝู ตรงบ้านเลขที่ 80 ภายในบ้าน 2 ชั้นหลังนี้ สร้างจากไม้เนื้อแข็งที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี โดยบรรพบุรุษดั้งเดิมเป็นชาวจีนฟุกเกี๋ยนที่เข้ามาติดต่อซื้อขายยาสมุนไพร และไม่ได้กลับไปยังถิ่นฐานเดิม ปัจจุบันจึงดัดแปลงบ้านไม้เก่าแก่หลังนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เซรามิกที่จัดแสดงโบราณวัตถุเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ตั้งแต่ ถ้วย ขาม เครื่องใช้ไม้สอยสมัยโบราณ รวมทั้งชามสังคโลกของไทย สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาของเมืองมรดกโลกริมแม่น้ำทูโบนที่เต็มเปี่ยวด้วยเสน่ห์แห่งนี้ นอกจากจะได้ชมถ้วยชามเซรามิกเก่าแก่แล้ว จากบริเวณระเบียงบ้านชั้น 2 ยังสามารถมองลงมายังถนนหน้าบ้าน เพื่อชมเมืองฮอยอันในมุมสูงได้อีกด้วย

8.     แม่น้ำทูโบน (Thu Bon River)
แม่น้ำทูโบนเป็นแม่น้ำสายที่มีความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนที่ฮอยกันยังเป็นเมืองท่าสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชาวต่างชาติจำนวนมากล่องเรือเข้ามาททำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่เมืองแห่งนี้ ทำให้ฮอยอันเป็นเสมือนศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกกับตะวันตก แต่ภายหลังที่แม่น้ำเริ่มตื้นเขิน เรือเดินสินค้าไม่สามารถมาจอดเทียบท่าได้ เมืองดานังจึงถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ฮอยอัน แต่สายน้ำทูโบนแห่งนี้ยังคงทำหน้าที่หลักไหลหล่อเลี้ยงชาวฮอยอันอยู่เรื่อยมา เห็นได้จากชาวบ้านที่ยังคงออกหาปลาในแม่น้ำ และใช้แม่น้ำสายนี้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาหาสู่กันระหว่างสองฟากฝั่งน้ำ การได้มาเดินเที่ยวชมริมแม่น้ำทูโบน จึงเต็มแด้วยเสน่ห์ของกาลเวลาที่เชื่อมต่อระหว่างอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่บ้านเรือนสไตล์โคโลเนียลมรดกตกทอดริมฝั่งแม่น้ำทูโบน หมู่บ้านชาวประมงที่หาดูได้ยาก ศิลปะที่ผสมผสานที่แสดงผลงานศิลปะไว้ภายในเรือ ตลอดจนร้านอาหารสองบรรยากาศที่มีให้คุณเลือกสรรทั้งร้านขายน้ำผลไม้แบบเรียบง่ายริมฝั่งแม่น้ำ หรือร้านอาหารสมัยใหม่หลายสัญชาติที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม และถ้าคุณต้องการสัมผัสมนต์เสน่ห์ของสายน้ำทูโบนอบ่างใกล้ชิดแล้ว ก็มีบริการล่องเรือชมวิวทิวทัศน์และวิถีริมฝั่งน้ำให้คุณเลือกใช้บริการเช่นกัน


การเดินทางภายในตัวเมืองฮอยอัน
ทางบก : ด้วยความที่ฮอยอันเป็นเมืองเล็กๆ ถนนเส้นหลักก็มีเพียงไม่กี่เส้น สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งก็อยู่ไม่ไกลกัน การเดินเท้าเที่ยวชมเมืองจึงเป็นวิธีหนึ่งที่สะดวก เพราะคุณสามารถหยุดแวะชมสถานที่ หรือเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกได้อย่างสะดวกสบาย ใช้เวลาเพียงวันเดียวก็เที่ยวครบทั่วเมืองเก่าแล้ว หรือจะเลือกใช้บริการจักรยานที่มีให้เช่า ก็ทำได้เช่นกัน แต่คุณอาจต้องใช้ความระมัดระวังสักหน่อย เพราะถนนแต่ละเส้นค่อนข้างเล็ก ผู้คนทั้งนักท่องเที่ยวและชาวเมืองฮอยอันก็มีจำนวนมาก ส่วนผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการเที่ยวชม แนะนำให้ใช้บริการสามล้อถีบที่มีให้บริการอยู่ทั่วทั้งเมือง ราคาก็ตามแต่ตกลงกันครับ
ทางน้ำ : หลังจากที่เที่ยวตัวเมืองฮอยอันจนครบแล้ว การเปลี่ยนบรรยากาศมานั่งล่องเรือแม่น้ำทูโบน ก็เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีให้เลือกทั้งแบบล่องเรือชมธรรมชาติสองฟากฝั่ง โดยใช้เวลาล่องไปกลับประมาณ 1 ชั่วโมง ราคาประมาณ 2 ดอลล่าต่อคน แต่สำหรับผู้ที่มาเป็นกลุ่มตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แนะนำให้เช่าเหมาลำ เพราะคุณสามารถต่อรองกับคนขับให้พาไปเยี่ยมชมหมู่บ้านหัตถกรรม หมู่บ้านชาวประมง ตลอดจนวิถีริมฝั่งน้ำที่หาดูได้ยาก โดยเรือจะมีให้บริการอยู่บริเวณท่าเรือข้ามฟากใกล้ๆกับตลาดเก่าในเมืองฮอยอัน
สรุป เมืองโบราณฮอยอันเป็นเมืองที่มีความสำคัญอีกเมืองหนึ่งของเวียดนามและของโลก เป็นเมืองที่ถือว่ามีอิทธิพลในด้านการออกแบบ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือทางด้านศิลปะและสถานที่ต่าง ๆ มีความคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ได้ศูนย์หายไปตามการเวลา เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การไปเยี่ยมชมและศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก

รูปสถานที่ต่าง ๆ


















.............................................................................................

บรรณานุกรม
มหานครอาเซียน. (ม.ป.ป.). เมืองโบราณฮอยอัน [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://www.uasean.com/kerobow01/262
ลำเจียก สองสีดา. (ม.ป.ป.). มรดกโลกในเวียดนาม 2 : เมืองโบราณฮอยอัน [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/2.html
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). ฮอยอัน [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/
โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์. (ม.ป.ป.). ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://www.oceansmile.com/Vietnam/HoiAn.htm
ladybug. (2557). แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองฮอยอัน เวียดนาม. [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://travel.mthai.com/world-travel/95329.html
Thaiza. (2553). “เสน่ห์แห่งเมืองโบราณฮอยอัน” [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://travel.thaiza.com/เสน่ห์แห่งเมืองโบราณฮอยอัน/185587/








วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (BAN CHIANG ARCHAEOLOGICAL SITE)



แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

(BAN CHIANG ARCHAEOLOGICAL SITE)







          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่เศษ จัดแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 5,000-1,400 ปีมาแล้ว และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปีอีกด้วย


ความเป็นมา
          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง อันประกอบด้วยกลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย
          ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ ในบริเวณหมู่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เริ่มจากการที่ชาวบ้านได้สังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวดลายเขียนสีแดง เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คนสนใจได้เข้าชม





          พ.ศ. 2509 นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่บ้าน จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (Neotelhic Period)
          ใน พ.ศ. 2510 กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-14) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ 2,600 ปีมาแล้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2513 หน่วยศิปลากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง
          พ.ศ. 2515 กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อวันที่20 มีนาคม พ.ศ. 2515



ที่ตั้ง





          แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนเนินดินสูง รูปยาวรี ตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ กลางเนินสูงกว่าพื้นที่รอบ ๆ ราว 8 เมตร ราษฎรชาวบ้านเชียงในปัจจุบันมีเชื้อสายลาวพวนที่อพยพเคลื่อนย้ายชุมชนมาจากแขวงเชียงขวางประเทศลาว เมื่อ 200 ปีมาแล้ว


การเดินทาง
          การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ถึงปากทางเข้าบ้านปูลูจะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง


ความสำคัญ

          แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันบ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก ทั้งทางด้านวิชาการและด้านโบราณวัตถุที่มีจำนวนมหาศาล ที่ได้รับการวิเคราะห์แปลความ โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการมาเป็นอย่างดี
          บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ เมื่อราว 5,000 กว่าปีมาแล้ว มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะ ที่รู้จักทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ นิยมทำเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมา แต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่กันไป ชาวบ้านเชียงรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะสีเทา ทำเป็นลายขูดขีด ลายเชือกทาบและขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสี รูปทรงและลวดลายต่างๆ มากมาย

          -ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ลายก้นหอยบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเป็นลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านเชียง
          -ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม แหล่งโบราณคดีที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนบ้านเชียงในอดีต





แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
          แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมา เป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก


ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
          ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่

          -ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็ก
          -ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดง
          -ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน






สำริด
          ชาวบ้านเชียงโบราณนิยมทำเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะได้รู้จักใช้การใช้เหล็ก ชาวพอลินีเซียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน เช่น ใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก






มรดกโลก
          แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 อันดับที่ 359 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว







พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง แบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน
          ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า ในเขตวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย จัดทำเป็นนิทรรศการถาวร จัดแสดงจำลองขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ โดยส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาที่ฝังรวมกับศพที่เป็นโครงกระดูก
          ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียง ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในยุคนั้น รวมถึงวัตถุโบราณและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยไปจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในส่วนนี้ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยายและการให้บริการด้านการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย

          นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ตั้งอยู่ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร เป็นสถานที่สำคัญที่ได้เก็บรักษาศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียง เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และยังเป็นสถานที่ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรการทำงานของนักโบราณคดี ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2515 โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน และเก็บรักษาหลักฐานทางโบราณคดีไว้ในสภาพดั้งเดิม จัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย




          หลุมขุดค้นทางโบราณคดี วัดโพธิ์ศรีใน เป็นหลุมขุดค้นที่จัดอยู่สมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง มีอายุระหว่าง 2,300 - 1,800 ปีมาแล้ว สมัยนี้ภาชนะดินเผาจะเขียนลายพื้นสีแดงบนลายสีนวล เขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง และฉาบด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมัน ส่วนด้านโลหะกรรมยุคนี้รู้จักการนำเหล็กมาใช้ได้แล้ว ส่วนสำริดถึงแม้จะพบทำเป็นเครื่องใช้น้อยลง แต่ยังคงทำเป็นเครื่องประดับที่พัฒนาด้านความประณีต และสวยงามมากกว่าทุกสมัย

        จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  โดยเป็นแหล่งที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวเมื่อ 5,000 ปีที่แล้วได้อย่างเป็นเรื่องราว มีการค้นพบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษา ที่ทำให้เราสามารถศึกษาเรียนรู้อดีต วิธีการดำรงชีวิตของคนในอดีตว่าเป็นอย่างไร ซึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ดีในการศึกษาและเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ และเรียนรู้เกี่ยวกับอดีตได้เป็นอย่างดี

…………………………………………………………………………..

อ้างอิง
          มนตรี โคตรคันทา. (2561). บ้านเชีย ง[ระบบออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://www.isangate.com/new/ka-lam-isan/32-art-culture/knowledge/575-baan-chiang.html
          พรพิมล โพธิ์แฉล้ม. (ม.ป.ป.). บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี [ระบบออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/thecultureorientedmeasures/kar-thxng-theiyw-1
          ณัฐวดี  ช่วยพนัง. (ม.ป.ป.). ไทย [ระบบออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/worldheritageinaseann/thiy
            สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัทธยาศัยภาคเหนือ. (2558). มรดกโลกในไทย 1 : แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/1_2378.html
          กระปุกดอทคอม. (2559). ตามรอยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี [ระบบออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://travel.kapook.com/view57699.html
          กลุ่มปั้นหม้อดินบ้านเชียง. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาบ้านเชียง [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 สืบค้นจาก https://www.baanchiang.com/15506681