“ ต้นกัลปพฤกษ์ ”
สวัสดีค่ะ
วันนี้เราจะมาอย่างพิเศษคือเราไม่ได้มานำแสดงสถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถานในประเทศต่างๆ
ของภูมิภาคะวันออกเฉียงใต้
แต่ในวันนี้เราจะมานำเสนอข้อมูลของสัตว์และเทพเจ้าที่มี่ความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์
และข้อมูลที่เราจะมานำเสนอในวันนี้ก็คือ ต้นกัลปพฤกษ์
ต้นไม้แห่งความสุขและความสมบูรณ์พร้อม!!!!
ความเป็นมาของต้นกัลปพฤกษ์
กัลปพฤกษ์มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศพม่า
ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ในประเทศไทยพบบริเวณ ป่าแดง ป่าโคก และป่าเบญจพรรณในทุกภาค
ยกเว้นภาคใต้ และมีชื่อที่เรียกกันในประเทศไทยตามแต่ละพื้นที่ คือ ภาคกลางและภาคเหนือจะเรียกว่ากาลพฤกษ์
จังหวัดปราจีนบุรีจะเรียกว่าเปลือกชม จังหวัดจันทบุรีจะเรียกว่าแก่นร้าง
จังหวัดสุรินทร์จะเรียกว่ากานล์ และในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Pink Cassia หรือ
Pink and White Shower Tree
คนไมยจะมีความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ คือ
ชื่อต้นไม้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของต้นไม้นั้นๆ ต้นกัลปพฤกษ์ก็เช่นกัน
ต้นกัลปพฤกษ์จะมีประวัติเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาต่อมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา
ในคัมภีร์ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง จะกล่าวถึงต้นกัลปพฤกษ์ว่า
เป็นต้นไม้สารพัดนึก เป็นต้นไม้อยู่บนสวรรค์ สำหรับโลกมนุษย์
ต้นกัลปพฤกษ์จะมาบังเกิดเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
โดยต้นกัลปพฤกษ์จะขึ้นอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน ใครต้องการสิ่งของอะไรก็ไปอธิษฐานขอเอาจากต้นกัลปพฤกษ์ดังกล่าวนั้นได้ทุกคน
นอกจากนี้ ยังมีคำบรรยายถึงต้นกัลปพฤกษ์ตอนหนึ่งว่า
“
แลในแผ่นดินอุตตกุรุทวีปนั้น มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง โดยสูงได้ ๑๐๐ โยชน์
โดยกว้างได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์แล ต้นกัลปพฤกษ์นั้นผู้ใดจะปรารถนาหาทุนทรัพย์
สรรพเหตุใดๆ ก็ดี ย่อมได้สำเร็จในต้นไม้นั้นทุกประการแล… ”
ในคัมภีร์โลกสัณฐานกล่าวว่า
ท้าวจาตุมหาราช หรือจตุโลกบาล ทั้ง ๔ พระองค์ คือท้าวธตรฐ จอมภูต รักษาทิศตะวันออก
ท้าววิรุฬหก จอมเทวดารักษาทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาทิศตะวันตกและท้าวกุเวร
จอมยักษ์ รักษาทิศเหนือ ทั้ง ๔ พระองค์นี้ล้วนทรงด้วยพระภูษา
อันเกิดแต่ต้นกัลปพฤกษ์ทุกพระองค์ สำหรับคนไทยในอดีต ต้นกัลปพฤกษ์
เปรียบได้กับแก้วสารพัดนึกจึงทำให้เกิดความใฝ่ฝันจะได้ไปเกิดในสมัยพระศรีอาริย์กันอย่างกว้างขวาง
จนมีผู้นำเอาอุดมการณ์ทางการเมืองมาผูกโยงกับความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริย์
ดังเช่นกรณี "กบฏผีบุญ" ในภาคอีสาน
ช่วงรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว เป็นต้น และการที่คนไทยภาคเหนือเรียกชื่อต้นไม้ต้นนี้ว่ากัลปพฤกษ์
น่าจะมีสาเหตุหรือความหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของต้นไม้ชนิดนี้อย่างแน่นอน
น่าเสียดายที่เหตุผลดังกล่าวไม่สามารถสืบค้นได้แน่ชัดในปัจจุบัน
ลักษณะของต้นกัลปพฤกษ์
กาลพฤกษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia bakeriana craib อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE
– CAESALPINIOIDEAE เช่นเดียวกับขี้เหล็ก
ต้นกัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากทางภาคอีสานและภาคเหนือ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือพุ่มใบแบนกว้าง
ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ความสูงประมาณ 10–15 เมตร
เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5–6
คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2–4
เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4–7 เซนติเมตร ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ
23 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ ตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว
มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน
ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ และเป็นพุ่มใบแบนกว้าง
ศิลปกรรม
จากข้อมูลในพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้พูดถึงเรื่องกัลปพฤกษ์ไว้ว่า
“ตามคติโบราณเชื่อกันว่าต้นกัลปพฤกษ์
มีอยู่ในแดน สวรรค์ หากผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ก็อาจจะไปนึกเอาจากต้นไม้นี้ได”
ดังนั้น
สมัยโบราณจึงได้มีการทำรูปแบบจำลองต้นกัลปพฤกษ์ต้นไม้สารพัดนึก
ขึ้นโดยเกี่ยวเนื่องกับงานที่เป็น พิธีหลวงบางโอกาส
เพื่อใช้เป็นที่ติดเงินปลีกสำหรับทิ้งทานให้แก่คนยากจน ตัวอย่างเช่น
งานพระราชทานเพลิงพระศพหรือศพ เช่น การพระราชทานเพลิงศพท้าวสมศักดิ์ที่วัดสุวรรณารามในรัชกาลที่
1 มีหมายรับสั่งว่า “อนึ่ง
ให้สมุห์บัญชีจัตุสดมภ์เบิกไม้ ไปทำโรงโขนโรงหุ่น แล้ว
ให้จัดแจงต้นกัลปพฤกษ์ไม้เสียบลูกกัลปพฤกษ์ แลกระไดขึ้นต้นกัลปพฤกษ์ให้พร้อม”
กับ “ให้เกณฑ์ผลมะกรูดผลมะนาว ขุนหมื่นเข้าส้มทิ้งทาน
ตำรวจรักษาต้นกัลปพฤกษ์วันละ 2
ต้น”
ทั้งนี้ โครงพุ่มของต้นกัลปพฤกษ์ โดยทั่วไปมักทำเป็นโครงไม้ผูกเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ แต่ละชั้นจะติดลูกมะนาว มะกรูด ซึ่งเจาะให้เป็นรูใส่เงินปลีกไว้ข้างใน ใต้ พุ่มทำยกพื้นขึ้นเสมอระดับตา ใช้เป็นที่ยืนทิ้งทาน เมื่อถึงเวลาทิ้งทาน พนักงานซึ่ง “นุ่งสมปักลายเสื้อครุย สวมลอมพอก” จะพาดกระไดขึ้นไปยืนอยู่บนยกพื้นใต้พุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ แล้วดึงลูกส้ม มะนาว มะกรูดที่ เสียบปลายไม้ที่เหลาเรียวยาวคล้าย คันเบ็ด วัดเหวี่ยงให้ลูกส้มปลิวไปตกห่างๆต้นกัลปพฤกษ์ คนที่รออยู่ข้างล่างก็จะกลุ้มรุมเข้าชิงลูกส้มกันอย่างสนุกสนาน กัลปพฤกษ์หรือต้นไม้สารพัดนึกจำลองนี้ จัดเป็นสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยศิลปะลักษณะประเภทหนึ่ง เป็นประเพณีนิยมที่มี แต่โบราณ แล้วค่อยเสื่อมความนิยมลงในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในระยะหลังๆ ก็ยังจัดทำต้นกัลปพฤกษ์จำลองขึ้นอีก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้อง กับงานศพแล้ว แต่จะเป็นงานเทศกาลรื่นเริง เช่น ปีใหม่ ก็จะนำสลากของขวัญไปติดไว้ที่ต้นกัลปพฤกษ์ ให้ผู้ร่วมงานได้สอยกัลปพฤกษ์รับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน
ทั้งนี้ โครงพุ่มของต้นกัลปพฤกษ์ โดยทั่วไปมักทำเป็นโครงไม้ผูกเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ แต่ละชั้นจะติดลูกมะนาว มะกรูด ซึ่งเจาะให้เป็นรูใส่เงินปลีกไว้ข้างใน ใต้ พุ่มทำยกพื้นขึ้นเสมอระดับตา ใช้เป็นที่ยืนทิ้งทาน เมื่อถึงเวลาทิ้งทาน พนักงานซึ่ง “นุ่งสมปักลายเสื้อครุย สวมลอมพอก” จะพาดกระไดขึ้นไปยืนอยู่บนยกพื้นใต้พุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ แล้วดึงลูกส้ม มะนาว มะกรูดที่ เสียบปลายไม้ที่เหลาเรียวยาวคล้าย คันเบ็ด วัดเหวี่ยงให้ลูกส้มปลิวไปตกห่างๆต้นกัลปพฤกษ์ คนที่รออยู่ข้างล่างก็จะกลุ้มรุมเข้าชิงลูกส้มกันอย่างสนุกสนาน กัลปพฤกษ์หรือต้นไม้สารพัดนึกจำลองนี้ จัดเป็นสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยศิลปะลักษณะประเภทหนึ่ง เป็นประเพณีนิยมที่มี แต่โบราณ แล้วค่อยเสื่อมความนิยมลงในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในระยะหลังๆ ก็ยังจัดทำต้นกัลปพฤกษ์จำลองขึ้นอีก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้อง กับงานศพแล้ว แต่จะเป็นงานเทศกาลรื่นเริง เช่น ปีใหม่ ก็จะนำสลากของขวัญไปติดไว้ที่ต้นกัลปพฤกษ์ ให้ผู้ร่วมงานได้สอยกัลปพฤกษ์รับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง
จันทิปะวนที่เก็จประธานจะปรากฏภาพสลักต้นกัลปพฤกษ์ หรือต้นไม้สารพัดนึก
ที่โคนต้นไม้มีหม้อเพชรพลอยอันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวย
ด้านข้างปรากฏกินนร-กินนรีรวมถึงวิทยาธรที่กำลังเหาะ
ภาพนี้คงเป็นการอวยพรผู้ศรัทธาให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
ตำนานความเชื่อ
ต้นกัลปพฤกษ์ หรือต้นกัลปตรุ
คือต้นไม้ที่ปรากฏขึ้นในดินแดนหรือกัลป์ของผู้มีบุญ เช่นในอุตรกุรุทวีปหรือในสมัยของพระไมตรยะ
ต้นไม้นี้ประทานทุกสิ่งแก่ประชาชนผู้อาศัยในดินแดนหรือในกัลป์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหรือเพชรพลอย
ในดินแดนนั้น
ประชานจึงไม่ต้องดิ้นรนทำงานแต่อาศัยเพียงการสอยของมีค่าจากต้นไม้นั้น
ในภาพสลักนี้ ทั้งกินนรซึ่งอยู่และต้นกัลปพฤกษ์ก็เป็นต้นไม้ในตามความเชื่อที่ปรากฏ
ในในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เช่น
ไตรภูมิกถา คัมภีร์โลกสัณฐาน รวมทั้งในพระสูตรต่างๆ
ต่างกล่าวถึงต้นกัลปพฤกษ์ว่าเป็นต้นไม้ที่อยู่ในอุตรกุรุทวีปบ้าง
อยู่บนบนสวรรค์บ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในโลกมนุษย์
อุตรกุรุทวีปเป็นทวีปที่มีความสุขสมบูรณ์ทุกอย่าง
ไม่จำเป็นต้องมีข้าวของเครื่องใช้ติดตัว หากใครประสงค์สิ่งใดก็สามารถอธิษฐานจิตใต้ต้นกัลปพฤกษ์จะได้สิ่งของตามปรารถนา
และในไตรภูมิพระร่วงของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท
กล่าวถึงต้นกัลปพฤกษ์ว่าเป็นต้นไม้ที่มีอยู่มากมายทั่วไปในอุตรกุรุทวีป
ต้นกัลปพฤกษ์มีความสูง 100 โยชน์ กว้าง 100 โยชน์
ผู้ใดปรารถนาหาทุนทรัพย์อันใดก็สามารถสำเร็จตามความระลึกถึง
นอกจากไตรภูมิพระร่วงแล้ว
ในคติเกี่ยวกับพระศรีอาริยเมตไตรย ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต
ก็กล่าวถึงต้นกัลปพฤกษ์ว่าเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นจากพุทรานุภาพของพระพุทธเจ้าศรีอาริยเมไตรยเมื่อทรงตรัสรู้
ซึ่งบังเกิดต้นกัลปพฤกษ์จำนวน 4 ต้นที่ปากประตูเมืองของโลกมนุษย์
แสดงถึงยุคอนาคตที่มหาชนต่างๆ จะอยู่อย่างมีความสุขสมบูรณ์
ในตำนานเกี่ยวกับประวัติอดีตชาติของพระอินทร์ตามคติทางพุทธศาสนา
กล่าวว่าเดิมพระอินทร์เป็นบุรุษผู้ครองเรือนชื่อมาฆะมานพ มีภรรยา 4 คน
มีบริวารจำนวน 32 คน ได้สร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ศาลาที่พักคนเดินทาง
ด้วยอานิสงส์ของบุญกุศลทำให้บังเกิดเป็นพระอินทร์อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ซึ่งก็มีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ในสวรรค์ ตามคัมภีร์กล่าวว่าลำต้นวัดความกว้างได้ 3 ถึง 5
โยชน์ สูงถึง 50 โยชน์ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปรอบๆ
ลำต้นทั้งกว้างสูงและยาวเท่ากันคือ 100 โยชน์
ดังนั้น ต้นกัลปพฤกษ์
จึงเป็นต้นไม้แห่งอุดมคติ เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์พูลสุขในภพสวรรค์
เป็นมูลเหตุอันหนึ่งซึ่งปรัชญาเมธีโบราณสร้างขึ้นเป็นอุบายเพื่อจูงใจให้คนทำความดี
ต้นกัลปพฤกษ์มีเข้ามามีบทบาทในงานพุทธศิลป์
โดยเฉพาะในงานภาพจิตรกรรมฝาผนังของช่างโบราณที่ถ่ายทอดคติไตรภูมิ
วาดเป็นภาพต้นไม้แผ่กิ่งก้านสาขาร่มเงาใหญ่โต ตามกิ่งก้านสาขามีทรัพย์สิน
แก้วแหวนเงินทอง เครื่องประดับต่างๆ แขวนอยู่ ซึ่งสะท้อนถึงความสุขสมบูรณ์
ในสังคมไทยยังได้ใช้ต้นกัลปพฤกษ์เป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ทานทั้งในรูปแบบเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ
ในจารึกวัดป่ามะม่วงสมัยสุโขทัย ด้านที่ 2
ได้กล่าวถึงการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหาธรรมราชาลิไท
โปรดให้จัดตกแต่งต้นกัลปพฤกษ์สำหรับถวายพระมหาสามีสังฆราชและพระเถระผู้ใหญ่
โดยจัดต้นไม้จำลองเป็นต้นกัลปพฤกษ์ นำเครื่องบูชาเข้าตอกดอกไม้หมากพลู
ทรัพย์สินและจตุปัจจัยต่างๆ แขวนไว้สำหรับถวายพระสงฆ์ สืบมาจนถึงสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์
พบว่าในการพระเมรุพระเจ้าแผ่นดินหรือการถวายพระเพลิงราชวงศ์ชั้นสูง หรือในงานเฉลิมฉลองสมโภชต่างๆ
จะมีการสร้างต้นกัลปพฤกษ์จำลองสำหรับการทิ้งทาน มีการนำเหรียญสตางค์หรือเงินสอดไว้ในลูกมะนาวแล้วแขวนไว้ตามต้นกัลปพฤกษ์
หรือนำทรัพย์สินเงินทองผ้าผ่อนวางไว้ที่โคนต้นเพื่อเป็นทานแก่ประชาชนทั่วไป
โดยเฉพาะคนยากคนจน
คนไทยปัจจุบันยังรับรู้คติเรื่องต้นกัลปพฤกษ์ว่าเป็นต้นไม้ที่ให้ทรัพย์สมบัติต่างๆ
จึงได้วิวัฒนาการมาเป็นกิจกรรมสอยกัลปพฤกษ์
โดยจัดสร้างต้นกัลปพฤกษ์จำลองแล้วนำฉลากมาแขวนไว้เพื่อนำไปขึ้นรางวัล
ซึ่งสิ่งต่างๆ
เหล่านี้ยังคงสะท้อนคติความเชื่อเกี่ยวกับต้นกัลปพฤกษ์ในฐานะสัญลักษณ์ของความสุขความอุดมสมบูรณ์สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ด้านล่างและวิทยาธรซึ่งเหาะอยู่ด้านบนได้มุ่งหน้ามาเก็บเพชรพลอยซึ่งวางอยู่จนเต็มหม้อที่โคนต้นไม้
จากข้อมูลทั้งหมดถ้าหากใครได้ดูละครช่อง 7 ลูกไม้ลายสนธยาก็จะเห็นถึงความสวยงามของต้นกัลปพฤกษ์ในดินแดนอุตรทวีป ในส่วนของข้อมูลที่นำมานี่เราก็จะได้รับข้อมูลที่เจาะลึกถึงประวัติและความเชื่อ ตำนาน ของต้นกัลปพฤกษ์อย่างหลากหลาย และในวันนี้ก็ขอจบบล็อกแต่เพียงเท่านี้ค่ะ ขอบคุณที่สนใจมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
.......................................................................
แหล่งอ้างอิง
ดินาร์ บุญธรรม. (2557).
ต้นกัลปพฤกษ์ [ ระบบออนไลน์ ]. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2561 สืบค้นจากhttp://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/
เดชา ศิริภัทร.
(2548). กาลพฤกษ์ :
ดอกไม้แห่งกาลเวลาของชาวไทย [ ระบบออนไลน์ ]. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2561
สืบค้นจาก https://www.doctor.or.th/article/detail/1848
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (ม.ป.ป.).
ต้นกัลปพฤกษ์ที่จันทิปะวน [ ระบบออนไลน์ ]. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2561
สืบค้นจาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/item/420-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%99.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น