บุโรพุทโธ
( Borobudur )
สวัสดีค่ะ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 4 แล้วที่เราได้รวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดีต่าง ๆ
ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาให้ทุกคนได้อ่านกัน
โดยในวันนี้สถานที่ที่เราจะมานำเสนอนั้นก็คือ กลุ่มวัดบุโรพุทโธ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญต่อศาสนาพุทธ
ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
เป็นสถานที่ที่ถือว่ามีชื่อเสียงเป็นอย่างมากอีกด้วย
ความเป็นมา
มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในประเทศอินโดนีเซีย
ตั้งอยู่ที่ภาคกลางของเกาะชวาภาคกลาง โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ในศาสนาพุทธ บุโรพุทโธถือว่าเป็นศาสนสถานของที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร
เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช
1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ
ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40
กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินแอนดีไซต์) ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟขนาดใหญ่มหึมาประมาณ
2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต
เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน
4 เหลี่ยม 3 ชั้น บนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก
31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป บุโรพุทโธตั้งอยู่บนเนินดินธรรมชาติที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นดินประมาณ
15 เมตร
รูปทรงภายนอกเป็นรูปทรงดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ชองพุทธศาสนา ดอกบัวขนาดมหึมานี้ลอยอยู่ในบึงใหญ่ ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ โบราณสถานแห่งนี้และบริเวณรอบๆ เป็นที่ลุ่มและถูกล้อมรอบด้วยน้ำที่ท่วมมาจากแม่น้ำโปรโก
(Progo River) ทำให้เจดีย์โบราณบุโรพุทโธเป็นเสมือนดอกบัวลอยอยู่ในน้ำ
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา
บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก
ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร
( ละติจูด : -7.60778 องศา ลองติจูด :
110.20361 องศา )
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของบุโรพุทโธแสดงออกถึงความเป็นอัจฉริยะสูงสุดทางศิลปะสมัยไศเลนทรา ที่ต่างไปจากโบราณสถานทุกแห่งในชวา
ประวัติการก่อสร้างมีอยู่ว่า ในปี ค.ศ.
732 กษัตริย์ชวาราชวงศ์สัญชัย (Sanjaya) ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ที่มาจากอินเดียในยุคนั้น
ราชวงศ์ไศเลนทรานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน จึงก่อสร้างโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ไว้หลายแห่ง
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือเจดีย์บุโรพุทโธซึ่งกษัตริย์วิษณุแห่งราชวงศ์ไศเลนทราทรงเริ่มสร้างขึ่นในปี
ค.ศ. 775 จนกระทั่งมาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยของกษัตริย์อินทราเมื่อปี ค.ศ. 847
ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 70 ปีเศษ ความมหัศจรรย์ของบุโรพุทโธเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบและรายละเอียดของศิลปะจากความคิดของช่างในสมัยนั้นโดยสร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา หรือ ศิลปะชวาภาคกลาง
ที่ผสมผสานศิลปะระหว่างอินเดียกับอินโดนีเซียเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน
บุโรพุทโธสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดของกัมพูชาประมาณ
300 ปี
ทำเลที่ตั้งเป็นเนินเขากว้างใหญ่
จำลองมาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนาไหลมาบรรจบกันเช่นที่ประเทศอินเดีย ต้นกำเนิดแห่งศาสนาพุทธบริเวณที่มีแม่น้ำ 2
สายไหลผ่าน
นั่นก็คือแม่น้ำโปรโกและแม่น้ำอีโล
บุโรพุทโธมีลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมคือ
เป็นสถูปตั้งอยู่บนพีระมิดทรงขั้นบันได
มีความสูงกว่า 42 เมตรจากฐานชั้นล่าง บุโรพุทโธมีทั้งหมด 10 ชั้น
ซึ่งแต่ละชั้นจะมีภาพสลักนูนต่ำแสดงคติธรรมทางพุทธศาสนาด้วยทัศนคติเกี่ยวกับจักรวาลตามพุทธศาสนาและการเข้าสู่นิพพาน
6 ชั้นนับจากฐานเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมแบบย่อมุม
คล้ายพีระมิดขั้นบันไดชั้นที่ 7 เป็นฐานวงกลมขนาดใหญ่ ขึ้นไปอีก 3 ชั้น ประดับเจดีย์ทรงระฆังโปร่งฉลุลายเป็นรูปสี่แหลี่ยมข้าวหลามตัด ครอบองค์พระพุทธรูปองค์เล็กข้างใน ส่วนนี้
มีความเชื่อกันว่าหากยื่นมือไปจนถึงและสัมผัสพระพุทธรูปภายในได้พร้อมอธิษฐานแล้วจะสมหวังและโชคดี เจดีย์เหล่านี้มีจำนวน 72 องค์
เรียงเป็นแนวล้อมรอบสถูปของชั้นที่ 10 ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธานสูง
150 ฟุต
เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ข้างใน แต่ปัจจุบันว่างเปล่า
บุโรพุทโธเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาล
แบ่งได้เป็น 3 ชั้น คือ ส่วนฐานของเจดีย์เป็นขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น
โดยรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมกำแพงรอบฐานมีภาพสลักนูนต่ำราว 160
ภาพอยู่ในส่วนกามาฐานหรือขั้นที่มนุษย์ยังผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความสุขทางโลกและถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหา
ส่วนที่ 2 คือส่วนบนของฐานที่มีขั้นบันไดรูปกลม ฐาน 6 ขั้นที่มีรูปสลักนูนต่ำเกือบ
1,400 ภาพ ที่แสดงพุทธประวัติ
ถือเป็นขั้นรูปธาตุ หรือ
ขั้นที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลส ทางโลกมาได้บางส่วน
และส่วนที่ 3 คือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์เล็กๆ 3
ชั้นล้อมรอบสถูปองค์ใหญ่ที่สุด
หมายถึงจักรวาล คือ
ขั้นอธูปธาตุ
ที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป
ในชั้นอธูปธาตุนี้สร้างเป็นฐานระเบียงวงกลม 3 ชั้นมีเจดีย์ทรงระฆังโปร่งฉลุลายเป็นช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเรียงรายโดยรอบ
ชั้นบนสุดเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน ตั้งอยู่กึ่งกลางของสถูป
ด้วยลักษณะของเขาพระสุเมรุมาตามปรัชญาทางศาสนาที่ว่าพื้นฐานเจดีย์คือ
โลกมนุษย์ที่ยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ส่วนยอดสูงสุดคือ ชั้นสรวงสวรรค์หรือนิพพานในคติความเชื่อของศานาพุทธ
บุโรพุทโธถูกทิ้งร้างเป็นป่ารกมาตั้งแต่ศตวรรษที่
19
และประสบกับภัยธรรมชาติคือแผ่นดินไหว
จนจมอยู่ใต้เถ้าถ่านของภูเขาไฟซึ่งระเบิดอย่างต่อเนื่อง กระทั่งศตวรรษที่ 20
ยังเกิดน้ำท่วมซ้ำจากเหตุการณ์ฝนตกต่อเนื่องจนจมอยู่ในน้ำลึกถึง 3 เมตร
เป็นเหตุให้ดินภูเขาไฟที่ครอบสถูปบุโรพุทโธอยู่ชื้นแฉะจนทรุดตัว ทำให้โบราณสถานแห่งนี้ทรุดตัวตามไปด้วย กระทั้งสแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์
ผู้ถูกส่งมาประจำการเป็นผู้สำเร็จราชการของอังกฤษเพื่อปกครองอาณานิคมชวาในช่วงนั้น
ได้เห็นความสำคัญของบุโรพุทโธจึงเริ่มบูรณะขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1855
และสามารถเริ่มเปิดให้ผู้คนทั่วโลกเข้ามาเยี่ยมชม
ต่อมาอินโดนีเซียได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโกในการบูรณะอย่างละเอียดอีกหลายครั้ง เพื่อที่จะแก้ปัญหาโครงสร้างที่เป็นโพรงเพราะภูเขาดินภายในทรุดถล่มจากสาเหตุอุทกภัย การบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1983
ด้วยงบประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในบริเวณบุโรพุทโธมีพิพิธภัณฑ์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การก่อสร้างและความเป็นมาเมื่อองค์การยูเนสโกของสหประชาชาติเข้าไปช่วยบำรุงรักษาบุโรพุทโธไว้เพื่อไม่ให้ล่มสลายไปกับกาลเวลา
รวมทั้งภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขังเนื่องจากการก่อสร้างบุโรพุทโธเดิมไม่มีการวางระบบระบายน้ำที่ดีพอ ทำให้พุทธสถานแห่งนี้ทรุดลงเรื่อยๆ
ยูเนสโก้เข้าไปจัดการทำช่องทางระบายน้ำและเสริมฐานเจดีย์ให้แข็งแรงมั่นคงขึ้นนอกจากพิพิธภัณฑ์นี้แล้ว
ยังมีรถไฟเล็กบริการพาชมบริเวณรอบๆ
บุโรพุทโธทุกๆ 10 นาที ค่ารถไฟคนละ 1,000
รูเปียห์
คงเป็นการดีหากมีโอกาสไปเยือนพุทธศาสนาสถานแห่งนี้ในวันวิสาชบูชา
เพราะจะมีพระสงฆ์และนักแสวงบุญทั่วสารทิศมาแสวงบุญโดยการเดินทักษิณาวัตรตั้งแต่ประตูใหญ่ด้านทิศตะวันออกซึ่งกว่าจะถึงยอดก็รวมระยะทางทั้งสิ้นราว
5 กิโลเมตรนับเป็นภาพที่งดงามจับตามากสำหรับศาสนิกชนชาวไทย
ลักษณะการก่อนสร้างของบุโรพุทโธ
ลักษณะการก่อนสร้างของบุโรพุทโธ
มีความหมายในทางธรรม ดังนี้
- § ส่วนฐานของบุโรพุทโธ ประกอบด้วยขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น กำแพงรอบฐานมีภาพสลักที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ที่ยังข้องอยู่ในความสุข ความปรารถนา ส่วนนี้จึงเปรียบเสมือนยู่ในขั้นกามภูมิ
- § ส่วนที่สอง ผนังระเบียงสลักภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกต่างๆ เปรียบเสมือนขั้นตอนที่มนุษย์เริ่มหลุดพ้นจากกิเลศทางโลกได้บางส่วน ถือเป็นขั้นรูปภูมิ
- § ส่วนที่สาม คือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ จำนวน 72 องค์ แต่ละองค์บรรจุด้วยพระพุทธรูปอยู่ภายใน ตั้งเรียงรายโอบล้อมพระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ 3 ระดับ จำนวนเจดีย์ 72 องค์นั้น ในทางธรรมแล้วหมายถึง รูป 18 เจตสิก 52 จิต 1 นิพพาน 1 และฐานพระเจดีย์ที่เป็นรูปบัวผลิบานบ่งบอกถึงการรู้ตื่นและเบิกบาน ส่วนพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ภายในไม่ได้บรรจุสิ่งใดไว้ สื่อให้เห็นถึงความว่าง อันถึงที่สุดของนิพพาน ส่วนนี้เปรียบเสมือนขั้นตอนที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป ถือเป็นขั้นอรูปภูมิ
โบโรบูดูร์
คงความยิ่งใหญ่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้คนจนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18
ใกล้สิ้นยุคของศรีวิชัย ซึ่งชาวโปรตุเกสได้เริ่มเข้ามายึดครองหมู่เกาะต่างๆ
และอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่
บุโรพุทโธจึงได้ถูกลืมเลือนและถูกทิ้งร้างเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่
24 เซอร์โทมัส แสตนฟอร์ด ราฟเฟิล ชาวดัทซ์
ได้ค้นพบบุโรพุทโธในสภาพที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง
มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรกในระหว่าง พ.ศ.2448-2453 ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ
2513-2533 รัฐบาลอินโดนีเซียได้มีการปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งโดยมีองค์การยูเนสโกของสหประชาชาติ
ได้ให้ทุนสนับสนุน รวมทั้งเงินทุนอุดหนุนจากบางประเทศที่นับถือพุทธศาสนา
รวมทั้งประเทศไทยด้วย
การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
โบโรบูดูร์
ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ
"กลุ่มวัดบรมพุทโธ" เมื่อปี พ.ศ. 2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่
15 เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย
โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลด้านวัฒนธรรมจำนวน 3
ข้อ คือ
1. เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง
ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน
ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง
หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
3.
มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์
หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
รูปภาพอื่น ๆ
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าบุโรพุทโธเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
ในประเทศอินโดนีเซียและในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของศาสนาพุทธในประเทศแถบนี้อีกด้วย
ด้วยประวัติศาสตร์ ความเป็นมา สถาปัตยกรรม และศิลปะต่าง ๆ
ทำให้บุโรพุทโธเป็นอีกสถานที่หนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าเดินทางไปเยี่ยมชม
และท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก นอกจากบุโรพุทโธแล้วก็ยังมีสถานที่รอบ ๆ และสถานที่อื่น
ๆในอินโดนีเซียที่น่าสนใจ อย่าลืมไปเที่ยวกันนะคะ
………………………………………………………………………………
บรรณานุกรม
กนกวรรณ
โพธิ์นอก. (ม.ป.ป.). ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวบุโรพุทโธ
(Borobudur) [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2561
สืบค้นจาก http://www.tripdeedee.com/traveldata/bali/bali15.php
มหานครอาเซียน.
(ม.ป.ป.). กลุ่มวัดบรมพุทโธหรือมหาสถูปบุโรพุทโธ [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21
ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก http://www.uasean.com/kerobow01/277
ณัฐพร สินทร. (2556). บุโรพุทโธ [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2561
สืบค้นจาก https://natthaponbb.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98/
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัทธยาศัยภาคเหนือ.
(2558). มรดกโลกในอินโดนีเซีย 1 : กลุ่มวัดบรมพุทโธ [ระบบออนไลน์].
สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/1_13.html
โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์.
(ม.ป.ป.). ข้อมูลท่องเที่ยว ประเทศอินโดนีเซีย [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21
ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก http://www.oceansmile.com/IndoBali/Buro.htm